ความแตกต่างระหว่างพระราชบัญญัติการแข่งขัน

ทางการค้า พ.ศ. 2542 และ พ.ศ. 2560

 

(1) กำกับดูแลครอบคลุมทุกหน่วยธุรกิจอย่างเสมอภาค

กฎหมายฉบับเดิม

ให้การยกเว้นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็น ผู้ผูกขาดธุรกิจสาธารณูปโภคพื้นฐานหลักของประเทศอยู่แล้ว แต่ไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับใช้กฎหมาย ทำให้ไม่เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมและทำลายบรรยากาศการค้าการลงทุน

กฎหมายฉบับใหม่

ให้การยกเว้นการกระทำของรัฐวิสาหกิจ องค์กรมหาชน และหน่วยงานอื่นๆ ของรัฐที่ปฏิบัติตามมติ ครม. หรือกฎหมาย เพื่อประโยชน์ของประชาชน *กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นต้องอยู่ภายใต้กฎหมายแข่งขัน

(2) การพิจารณาครอบคลุมรูปแบบธุรกิจที่มีความซับซ้อน (ธุรกิจในเครือ)

กฎหมายฉบับเดิม

การพิจารณาพฤติกรรมของธุรกิจจะพิจารณาเป็นรายนิติบุคคลเท่านั้น

กฎหมายฉบับใหม่

สามารถพิจารณาธุรกิจที่มีความเชื่อมโยงกัน ทั้งในด้านนโยบายหรืออำนาจสั่งการ ทำให้การพิจารณามีความชัดลึกและสอดคล้องกับข้อเท็จจริงในทางธุรกิจ หลัก Single Entity จะใช้ในการพิจารณาทุกพฤติกรรม (จำนวนหุ้น หรือสิทธิในการออกเสียง) ตามหลักสากล - อำนาจเหนือตลาด นับรวมส่วนแบ่งตลาดและยอดเงินขาย - การตกลงร่วมกันถือเป็นคนเดียวกัน จึงไม่ถือเป็นความผิด - การรวมธุรกิจ กรณีเป็นการรวมธุรกิจในเครือ ไม่ต้องขออนุญาตหรือแจ้งการรวมธุรกิจ - พฤติกรรมที่ไม่เป็นธรรมทางการค้ากรณีที่บริษัทแม่มีส่วนรู้เห็นหรือว่าสั่งการถือว่าเป็นตัวการ

(3) ปรับปรุงบทนิยามต่างๆ ให้มีความชัดเจน ครอบคลุม และง่ายต่อการเข้าใจ(เดิมไม่กำหนด) เช่น

  • • นิยามตลาด จะพิจารณาถึงสินค้าที่ทดแทนกันได้ ทั้งด้านสินค้า (คุณภาพ – ราคา – ประโยชน์) และด้านภูมิศาสตร์ (ระยะทาง – พื้นที่)
  • • นิยามปัจจัยสภาพการแข่งขัน เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าจะนำปัจจัยใดบ้างมาประกอบการพิจารณาเกณฑ์การเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาด

(4) หลักเกณฑ์ที่ใช้บังคับต้องมีการทบทวนภายใน 3 ปี เพื่อให้มีความทันสมัย ทันต่อรูปแบบและพฤติกรรมการค้าที่เปลี่ยนแปลงไป

2.1 การป้องปราม

(1) การเปิดโอกาสให้ภาคธุรกิจเข้ามามีส่วนร่วมในการบังคับใช้กฎหมาย

กฎหมายฉบับเดิม

การออกอนุบัญญัติกฎ ระเบียบ ข้อบังคับใด ๆ เป็นอำนาจของ กขค

กฎหมายฉบับใหม่

กขค. ต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก่อนประกาศใช้ * ผู้ประกอบธุรกิจรับทราบและมีการเตรียมความพร้อม รวมทั้งมีโอกาสชี้แจงให้ข้อเสนอแนะ เพื่อไม่ให้กฎระเบียบ ข้อบังคับที่จะกำหนดเป็นประโยชน์ต่อการดูแลด้านการแข่งขันและสามารถบังคับใช้ได้จริง

(2) การขอรับการวินิจฉัยพฤติกรรมเป็นการล่วงหน้า

กฎหมายฉบับเดิม

ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถขอให้ กขค. วินิจฉัย เป็นการล่วงหน้าได้

กฎหมายฉบับใหม่

ผู้ประกอบธุรกิจสามารถขอรับการวินิจฉัยอย่างเป็นทางการจาก กขค. เป็นการล่วงหน้าได้ (คำวินิฉัยผูกพันเฉพาะข้อเท็จจริงที่ให้กับสำนักงาน) *ผู้ประกอบธุรกิจสามารถสอบถามได้กรณีที่สงสัยว่าพฤติกรรมของตนจะเข้าข่ายฝ่าฝืนหรือไม่

(3) ต้องเผยแพร่ผลการวินิจฉัยพฤติกรรมความผิดต่อสาธารณะ

กฎหมายฉบับเดิม

ไม่กำหนด

กฎหมายฉบับใหม่

กขค.ต้องเผยแพร่ผลการวินิจฉัยต่อสาธารณะชน และรายงานต่อ ครม. *ผู้ประกอบธุรกิจสามารถเรียนรู้จากพฤติกรรมที่ฝ่าฝืนกฎหมายและต้องได้รับโทษ ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ และป้องกันมิให้เกิดการกระทำผิดซ้ำ

(4) การให้ความเห็นเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐที่ขัดขวางการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม

กฎหมายฉบับเดิม

ไม่กำหนด

กฎหมายฉบับใหม่

กขค.สามารถให้ความเห็นหรือข้อเสนอแนะใด ๆ เกี่ยวกับนโยบายหรือการดำเนินการของรัฐที่อาจก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการแข่งขันอย่างเสรีเป็นธรรมของผู้ประกอบธุรกิจ

2.2 การปราบปราม

(1) บทลงโทษ

กฎหมายฉบับเดิม

ทุกพฤติกรรมความผิดมีฐานความผิดเดียว คือ ต้องได้รับโทษอาญา “จำคุก 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

กฎหมายฉบับใหม่

• การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายจะมีบทลงโทษขึ้นอยู่กับความหนักเบาของพฤติกรรมทั้งโทษปรับทางปกครองและโทษอาญา สอดคล้องกับหลักการลงโทษแก่หน่วยธุรกิจ • กรณีเป็นโทษอาญา กขค. มีอำนาจเปรียบเทียบปรับ ทำให้มีกลไกในการเยียวยาแก่ผู้ได้รับความเสียหาย

ตารางเปรียบเทียบบทลงโทษ

กฎหมายฉบับเดิม

พฤติกรรม - การใช้อำนาจเหนือตลาด - การตกลงร่วมกัน (Hard Core ) - การตกลงร่วมกัน (Others Cartel) -การปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมทางการค้า - การรวมธุรกิจ จำคุก 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

กฎหมายฉบับใหม่

พฤติกรรม - การใช้อำนาจเหนือตลาด - การตกลงร่วมกัน (Hard Core ) จำคุก 2 ปี ปรับ (อาญา) ไม่เกิน 10% รายได้ในปีที่กระทำความผิด(คณะกรรมการมีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้) พฤติกรรม - การตกลงร่วมกัน (Others Cartel) - การปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมทางการค้า จำคุก 2 ปี ปรับ (อาญา) ไม่เกิน 10% รายได้ในปีที่กระทำความผิด(คณะกรรมการมีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้) พฤติกรรม - การรวมธุรกิจ ไม่ขออนุญาตรวมธุรกิจ : ปรับ (ปกครอง) 0.05% ของมูลค่ารวมธุรกิจ กรณีไม่แจ้งรวมธุรกิจ : ปรับ (ปกครอง)

(2) การเพิ่มประสิทธิภาพกลไกด้านการสืบสวนสอบสวน

กฎหมายฉบับเดิม

ตำรวจหรืออัยการในอนุกรรมการสอบสวนต้องเป็นข้าราชการเท่านั้น

กฎหมายฉบับใหม่

ตำรวจหรืออัยการในอนุกรรมการสอบสวนสามารถเป็นข้าราชการหรือเคยเป็น (เกษียณ ลาออก โอนย้าย) ก็ได้ • สามารถคัดเลือกผู้ที่ความรู้และมีเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มที่

(3) การกำหนดให้ศาลทรัพย์สินฯ เป็นผู้พิจารณาความผิดที่มีโทษอาญา

กฎหมายฉบับเดิม

กำหนดให้ศาลอาญาเป็นผู้พิจารณา

กฎหมายฉบับใหม่

กำหนดให้ศาลทรัพย์สินฯ เป็นผู้พิจารณา (มีความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ)

(4) เพิ่มประสิทธิภาพ กลไกการระงับยับยั้งพฤติกรรมที่ฝ่าฝืนหรืออาจฝ่าฝืนกฎหมาย จากโทษทางอาญาเป็นโทษทางปกครอง

กฎหมายฉบับเดิม

• กรณีที่ฝ่าฝืนคำสั่ง กขค. มีโทษอาญาจำคุก 1 - 3 ปี ปรับ 2 - 6 ล้านบาท และปรับรายวัน 5 หมื่นบาทจนกว่าจะหยุดพฤติกรรม โดยต้องฟ้องศาลบังคับ • กรณีที่ฝ่าฝืนหรืออาจฝ่าฝืน ผู้วินิจฉัยคือศาล ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจไม่เกรงกลัว • กรณีที่ฝ่าฝืนคำสั่ง กขค. และศาลเห็นว่า ไม่ผิด แต่อาจต้องได้รับโทษจำคุกเพราะ ฝ่าฝืนคำสั่ง กขค.

กฎหมายฉบับใหม่

• กรณีที่ฝ่าฝืนคำสั่ง กขค. มีโทษปรับปกครอง ไม่เกิน 6 ล้านบาท และปรับรายวัน 3 แสนบาทจนกว่าจะหยุดพฤติกรรม) • กรณีที่ปฏิบัติตามคำสั่งไม่ต้องรับโทษ หากฝ่าฝืนคำสั่ง กขค. ลงโทษได้เอง และมีบทลงโทษตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืน • กรณีที่ฝ่าฝืนคำสั่งและไม่ชำระค่าปรับทางปกครอง กขค. สามารถฟ้องศาลปกครองเพื่อยึดทรัพย์ ขายทอดตลาดชำระเป็นค่าปรับก็ได้

3.1 คณะกรรมการแข่งขันทางการค้าที่เป็นอิสระปราศจากการแทรกแซง

กฎหมายฉบับเดิม

กขค กำหนดโดยตำแหน่ง และให้อำนาจ รมว.พณ. เป็นผู้พิจารณา รมว.พณ. : ประธาน / ปลัด ก.พณ. : รองประธาน ปลัด ก.คลัง : กรรมการ / ผู้ทรงฯ : ราชการ (6) เอกชน (6) (โดย รมว.พณ.เห็นชอบ) / อธ. คน. : เลขานุการ • ปฏิบัติหน้าที่ไม่เต็มเวลา (ประชุมเฉลี่ยปีละ 1-2 ครั้ง) • ผู้ทรงฯ ใน กขค. ขาดความรู้-เชี่ยวชาญด้านการแข่งขันอย่างแท้จริง • มีภารกิจด้านการแข่งขันทับซ้อนกับภารกิจด้านการบริหาร (ขอความร่วมมือภาคเอกชน) • ภาคเอกชนในและต่างประเทศขาดความเชื่อถือในความเป็นกลาง-เป็นธรรม

กฎหมายฉบับใหม่

กขค กำหนดให้มาจากกระบวนการสรรหา (ปฏิบัติงานเต็มเวลา) • อายุ 40-70 ปี วาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี ได้ 2 วาระ • เป็นผู้มีความรู้ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ ที่เหมาะสม โดยผ่านการคัดเลือก • ต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนทั้งในภาคธุรกิจ และการเมือง • เมื่อพ้นตำแหน่ง ห้ามไปดำรงตำแหน่งบริหารในธุรกิจที่เป็นคู่กรณีกับ สขค. คณะกรรมการสรรหา 9 คน ภาครัฐ : ปลัดพณ. /ปลัด กษ. /ปลัด อก. /ปลัด คลัง /ปลัด ยธ. /ลธ.สศช. /ลธ.สคบ. ภาคเอกชน : ปธ.สภาหอฯ ปธ.สภาอุตฯ

3.2 สำนักงานคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าที่เป็นหน่วยงานอิสระและมีประสิทธิภาพสูง

กฎหมายฉบับเดิม

เป็นหน่วยงานระดับสำนักในกรมการค้าภายใน • ไม่สามารถคัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ ด้านการแข่งขันทางการค้าได้เอง • ผลตอบแทนไม่เอื้อต่อการเป็นหน่วยงาน บังคับใช้กฎหมาย • มิใช่ภารกิจเร่งด่วนตามนโยบายของรัฐบาล จึงได้รับการพิจารณางบประมาณเป็นลำดับรอง • ขาดความเชี่ยวชาญ-ต่อเนื่องในการบังคับใช้กฎหมาย เนื่องจากข้าราชการช่วยราชการ ในภารกิจของกรม และมีการโยกย้ายบุคลากรเพื่อความเหมาะสม • กลไกราชการสามารถแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ได้ ทั้งจากผู้บังคับบัญชาและฝ่ายการเมือง • มีข้อจำกัดในการจัดหาพื้นที่และเครื่องไม้เครื่องมือในการดำเนินงานของ สขค.

กฎหมายฉบับใหม่

เป็นหน่วยงานระดับสำนักในกรมการค้าภายใน • มีความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการงาน เงิน คน ได้เอง ทำให้สามารถปรับรูปแบบของ สขค. เพื่อรองรับภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป (ภายใต้ระเบียบ กขค.) • สามารถกำหนดคุณสมบัติ คัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถได้เอง โดยจ่ายค่าตอบแทนที่คุ้มค่า ในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย ที่ต้องมีความโปร่งใส-เป็นกลาง-เป็นธรรม • ปราศจากการแทรกแซงในการปฏิบัติหน้าที่ จากฝ่ายการเมือง

ติดต่อเรา

  • map
  • อาคารจอดรถ 5 ชั้น (BC) ชั้น 5 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
    เลขที่ 120 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210

สมัครรับข้อมูลข่าวสาร

  • สงวนลิขสิทธิ์ โดยสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า
     Visits: 352248