สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า

TRADE COMPETITION COMMISSION OF THAILAND

กิจกรรม

 

สำนักงาน กขค. ร่วมกับ มูลนิธิเอเชีย (The Asia Foundation) โดยการสนับสนุนของกระทรวงการต่างประเทศและการค้าของประเทศออสเตรเลีย เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อนำเสนอผลการศึกษา เรื่องนโยบายการกำกับการแข่งขันสำหรับธุรกิจดิจิทัลแพลตฟอร์มในประเทศไทย และเรื่องการโอนกิจการบางส่วนภายใต้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าของประเทศไทย

เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2565 สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (สำนักงาน กขค.) โดย ฝ่ายกิจการต่างประเทศ ร่วมกับ มูลนิธิเอเชีย (The Asia Foundation) โดยการสนับสนุนของกระทรวงการต่างประเทศและการค้า (Department of Foreign Affairs and Trade - DFAT) ของประเทศออสเตรเลีย นำโดย ศาสตราจารย์สกนธ์ วรัญญูวัฒนา ประธานกรรมการการแข่งขันทางการค้า นางปัทมา เธียรวิศิษฎ์สกุล กรรมการการแข่งขันทางการค้า พร้อมด้วย นายมนยศ วรรธนะภูติ รองเลขาธิการ รักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า และนายมนตรี กนกวารี รองเลขาธิการคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ภารกิจด้านกฎหมาย นางนลิตรา ไทยประเสริฐ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ผู้แทนจากมูลนิธิเอเชีย บุคลากรของสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ผู้แทนจากหน่วยงานกำกับรายสาขา และหน่วยงานภายนอก เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อนำเสนอผลการศึกษา เรื่อง นโยบายการกำกับการแข่งขันสำหรับธุรกิจดิจิทัลแพลตฟอร์มในประเทศไทย (Competition Policy for Digital Platforms in Thailand) และ เรื่อง การโอนกิจการบางส่วนภายใต้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าของประเทศไทย (A Study on Divestiture under Competition Laws of Thailand) ณ โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชัน 

 

โดยมีผู้จัดทำรายงานการศึกษา จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรรณวิภางค์ มานะโชติพงษ์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์  นายกนกนัย ถาวรพานิช อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์กมลวรรณ จิรวิศิษฎ์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.นิลุบล เลิศนุวัฒน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มาเป็นผู้บรรยายการศึกษา ซึ่งการประชุมในครั้งนี้จะช่วยเผยแพร่และผลักดันให้เกิดการกำหนดนโยบายในการกำกับดูแลธุรกิจแพลตฟอร์ม และมาตรการแก้ไขเยียวยาความเสียหายที่เกิดจากการกระทำความผิดต่อกฎหมายการแข่งขันทางการค้า ให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงในทุกมิติของการแข่งขันทางการค้า ทั้งเชิงพฤติกรรมและเชิงโครงสร้าง พร้อมทั้งทราบถึงนโยบายของต่างประเทศ ตลอดจนกรณีศึกษาในต่างประเทศ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับประเทศไทย พร้อมส่งเสริมให้ผู้ประกอบการทุกรายสามารถเข้าสู่ตลาดและแข่งขันได้อย่างเสรีและเป็นธรรม ซึ่งความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมฟังบรรยายจะช่วยพัฒนาและปรับปรุงการศึกษานี้ให้สมบูรณ์และนำมาใช้เป็นแนวทางการกำกับดูแลการแข่งขันทางการค้าของประเทศไทยได้อย่างเหมาะสม